Custom Search

วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ดอกไม้กินได้

ดอกไม้กินได้แต่ไม่ทุกชนิด สังเกตได้จาก ถ้าสัตว์กินได้ คนก็มักจะกินได้ หรือดอกไม้ที่มีประโยชน์ทางสมุนไพรก็มักจะกินได้เช่นกันต้นไม้ที่มียางส่วนใหญ่จะมีพิษ แต่ก็มีชื่อยกเว้นในบางชนิด เช่น ดอกลีลาดีขาว

การกินดอกไม้เป็นอาหาร เป็นวัฒนธรรมการบริโภคของคนไทยที่มีมานานแล้ว เป็นพืชที่ขึ้นในท้องถิ่นเก็บได้ตามฤดูกาลและที่สำคัญ คือ มีประโยชน์เป็นสมุนไพร ช่วยให้สุขภาพดี แก้โรคบางชนิดได้ด้วย ซึ่งมีวิธีการทำได้ เช่น แกงส้ม แกงกะทิ กินเป็นผักสด ลวก ต้ม ดองหรือทอด

ในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น มีการกินดอกไม้กันอย่างแพร่หลาย เชื่อว่า การกินดอกไม้ชนิดต่าง ๆ ช่วยให้สุขภาพแข็งแรง โดยเฉพาะรูปร่างได้สัดส่วน และอรรธรสในการบริโภคจากสีสันและ กลิ่นหอมจากกลีบดอก เช่น คาร์เนชั่น ทิวเบอร์สโกเนีย พีทูเนีย ฟุกเซีย ลิ้นมังกร ค่าเล่นกูล่า ฯลฯ วิธีนำมาประกอบอาหาร เช่น ทำเป็นสลัดดอกไม้ ใส่ในซอสน้ำซุปและอาหารหวานนานาชนิด

ดอกผกากรอง


ดอกผกากรอง ผกากรองมีชื่อวิทาศาสตร์ว่า Lantana camara Linn. อยู่ในวงศ์ verbenaceae โดยผกากรองจัดเป็นไม้พุ่มลำต้นสี่เหลียม ใบเดี่ยวมีขน ออกดอกเป็นช่อ มีดอกย่อมจำนวนมาก กลีบดอกมีหลายสี เช่น ขาว เหลือง ชมพู ส้ม แดง หรือมีสองสีในดอกเดียวกัน ผลรูปร่างกลม มีขนาดเล็ก เมื่อสุกมีสีดำ

สรรพคุณ ส่วนที่นำมาใช้ทำยา คือ ใบ ดอก ราก โดยเก็บได้ตลอดปี จะใช้สดหรือตากแห้งก็ได้
"ใบ" มีรสขม เย็น ใช้แก้บวม ขับลม แก้แผลผดผื่นคันที่เกิดจากความชื้นหรือหิด ซึ่งเตรียมยาดังนี้นำใบสด10-15 กรัม มาตำและพอกบริเวณที่เป็น หรือ นำใบสดมาต้มแล้วนำน้ำที่ได้มาชะล้างบริเวณที่เป็น
"ดอก" มีรสจืดชุ่ม แต่ให้ความรู้สึกเย็น ใช้แก้อักเสบ ห้ามเลือด แก้วัณโรค อาเจียนเป็นเลือด แก้ปวดท้องอาเจียน แก้ผื่นคันที่เกิดจากความชื่นและรอยฟกช้ำที่เกิดจากการกระทบกระแทก โดยเตรียมยาดังนี้ ถ้าเป็นยารับประทานเพื่อรักษาอาการอาเจียนเป็นเลือด แก้วัณโรค แก้ปวดท้องอาเจียน ให้ใช้ดอกสด 10-15 ช่อ หรือ ดอกแห้ง 6-10 กรัม ต้มน้ำดื่ม จนกว่าอาการจะดีขึ้น ถ้าใช้รักษารอยฟกช้ำหรือผดผื่น ให้นำดอกสดมาตำและพอกบริเวณที่เป็น
"ราก" ใช้แก้หวัด ปวดศีรษะ ไข้สูง ปวดฟัน คางทูม รอยฟกช้ำที่เกิดจากการกระแทก โดยถ้าใช้รักษาอาการไข้ คางทูม ให้ใช้ราก 30-60กรัม ต้มน้ำดื่ม และถ้าใช้รักษาอาการปวดฟัน ใช้รากสด 30 กรัมกับเกลือจืด 30 กรัม ต้มน้ำบ้วนปาก การใช้ผกากรองรักษาโรคก็มีข้อควรระวัง คือ หญิงมีครรภ์ห้ามรับประทาน ส่วนที่ห้ามรับประทาน สำหรับทุกคนเพราะจะเกิดอันตรายจากพิษ คือ ผลแก่แต่ยังไม่สุกเนื่องจากสารกลุ่ม triterpenoid ได้แก่ lantadene A และ lantadene B ซึ่งรับประทานเมล็ดเข้าไปจะมีอาการเพลีย มึนงง ตัวเขียว ท้องเดิน หมดสติและเสียชีวิตในที่สุด

ดอกบานไม่รู้โรย



ดอกบานไม่รู้โรย บานไม่รู้โรยมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Gomphrena globosa Linn. อยู่ในวงศ์ Amaranthaceae มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่าง ๆ ดังนี้ ดอกสามเดือน กะล่อม ตะล่อม บานไม่รู้โรยจัดเป็นพืชล้มลุกลำต้นตรง หรือ บริเวณโคนต้นอาจราบไปกับดินและมีรากตามข้อ ลำต้นจะมีสีแดง ถ้าเป็นกิ่งอ่อนจะมีขน ใบจะออกตรงข้ามกันเป็นคู่ รูปร่างใบจะยาวปลายมน มีขนปกคลุมใบทั้งสองข้าง ดอกออกเป็นกระจุกมนๆ ประกอบด้วยดอกเล็กๆมากมายอยู่บนก้านช่อดอก ดอกมี 3 สี คือ สีขาว สีม่วงเข้มและสีชมพู

สรรพคุณ ในตำราแผนโบราณกล่าวไว้ว่า ส่วนต่างๆของบานไม่รู้โรยมีสรรพคุณดั่งนี้
"ดอก" บำรุงตับ แก้ตาอักเสบ ขับปัสสาวะ แก้ปวดหัว แก้บิด แก้ไอกรน แก้ไอหอบหืด แก้แผลผื่นคัน ขับพยาธิ
"ต้น" ขับปัสสาวะ ขับหนองใน ขับระดูขาว แก้กามโรค
"ราก" ขับปัสสาวะ แก้พิษต่างๆ
"ใบ" ขับพยาธิ
" ทั้งต้น" แก้กษัย
เมื่อได้ศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่ามีฤทธิ์ขับเสหะ ฆ่าแมลง ซึ่งจะสอดคล้องกับในสมัยโบราณนำไปใช้รักษาอาการไอหรือลดอาการหอบหืด

ดอกดาวเรือง



ดาวเรือง ดาวเรืองมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tageteserecta Linn มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆดังนี้ "คำปูจู้หลวง" " ดาวเรืองใหญ่" " พอทู" ดาวเรืองสูงประมาณ 15-60 เซนติเมตร ใบประกอบแบบขนนกเรียงตรงข้าม ใบย่อรูปวงรี ขอบใบหยัก ฟันเลื่อย ดอกออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยมี 2 ลักษณะ คือ "ดอกไม่สมบูรณ์เพศ" อยู่รอบนอกจำนวนมาก มีสีเหลืองหรือเหลืองส้ม ลักษณะคล้ายลิ้นบานแผ่ปลายม้วนลงออกช้อนกันหลายชัน "ดอกสมบูรณ์เพศ" มีลักษณะเป็นหลอดเล็กๆจำนวนมากรวมกลุ่มอยู่บริเวณกลางช่อดอก ผลเป็นผลแห้งไม่แตก

สรรพคุณ ส่านที่นำมาใช้เป็นยา คือ ใบ ต้น ช่อดอก โดยเก็บตอนฤดูร้อนหรือหนาวตากแห้งเก็บไว้ใช้หรือใช้สดก็ได้ สำหรับ"ช่อดอก"นั้นมีรสขมฉุนเล็กน้อย ช่วยบำรุงตับ ขับลม ละลายเสมหะ แก้เวียนศีรษะ แก้หลอดลมอักเสบ แก้ปวดฟัน รักษาแผลทำให้หายเร็วขึ้น ถ้าใช้เป็นยาทาภายใน คือ รับประทานเข้าไปให้เตรียมยาดังนี้ใช่ช่อดอก แห้ง3-10 กรัม ต้มเอาน้ำดื่มจนกว่าอาการจะดีขึ้น ถ้าเป็นการรักษาบาดแผล <ใช้ภายใน> ให้ใช้ช่อดอกต้มชะล้างแผลจะดีขึ้นเอง นำมาประกอบอาหารโดยดอกตูมลวกจิ้มน้ำพริก กินแกล้มลาบ กะปิคั่ว สำหรับ"ใบ"นั้นมีรสชุ่มเย็น มีกลิ่นฉุน สรรพคุณแก้ฝีฝักบัว แก้ฝีพุพองมีตุ่มหนอง แก้เด็กเป็นตาลขโมย โดยเตรียมยาดังนี้ ใช้ใบแห้งต้มเอาน้ำดื่มหรือตำใบแล้วนำไปพอกบริเวณที่เป็นแผล สำหรับ"ต้นนั้น"มีสรรพคุณขับลมในลำไส้ แก้ปวดท้อง การเตรียมคืดนำไปต้มน้ำเอามาดื่ม

ดอกอัญชัน



ดอกอัญชัน ปัจจุบันน้ำสมุนไพรได้รับความนิยมกันมาก มีบางหน่อยงานใช้ตอนรับแขกแทนเครื่องดื่มประเภทน้ำชา กาแฟ เช่น น้ำใบเตย น้ำมะขาม น้ำมะตูม และเครื่องดื่มอื่นๆอีกมากมาย "น้ำดอกอัญชัน" ถือเป็นน้ำดื่ม สมุนไพรที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเช่นกันเพราะนอกจากจะมีสีสันสดใสแล้ว น้ำอัญชันยังมีสรรพคุณเป็น ยาที่น่าสนใจอีกด้วย

สรรพคุณ ทางตำรายาแผนโบราณกล่าวไว้ว่าอัญชันมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพร โดยรากของดอกสีขาวซึ่งมีรสขม ใช้เป็นยาระบายหรือยาขับปัสสาวะ รากและใบใช้แก้ตาฟาง ตาแฉะ ส่วนดอกสีม่วงรักษาอาการผมร่วง หรือใช้ย้อมผมหงอกให้เป็นสีดำ สำหรับเมล็ดนั้นใช้เป็นยาระบาย ส่วนสารที่ให้สีนี้เป็นสารพวกแอนโทไซยานิน ปัจจุบันนี้ได้มีการวิจัยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของอัญชัน พบว่ามีฤทธิ์แก้ปวดเป็นยาเฉพาะที่ ลดไข้ เสริมฤทธิ์ยา นอนหลับ ลดปฏิกิริยาตอบสนองต่ออันตราย ต้านการฝังตัวของตัวอ่อนที่ผนังมดลูก ทำให้แมลงกินอาหารไม่ได้ ฆ่าพยาธิไส้เดือน ยับยั้งแบคทีเรียและเชื้อราบางชนิด

ดอกบานบุรี


ดอกบานบุรี บานบุรีมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Allamnda cathartica Linn. อยู่ในวงศ์ Apocynaceae บานบุรีเหลืองจัดเป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อยใบเป็นใบเดี่ยวติดเป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย ใบเป็นใบเดี่ยวติดเป็นคู่ตรงข้ามกันหรือติดรอบๆข้อ ใบเป็นรูปไข่กลับ ปลายใบแหลมโคนใบเป็นมุมยื่นลงไปที่ก้านใบ ขอบใบเรียบ ด้านบนเป็นมัน ดอกออกที่ยอดกลีบดอกเป็นรูปกรอย มี 5 กลีบสีเหลือง ส่วนโคนเชื่อมติดกันเป็นท่อ มีกลีบรองดอกห้ากลีบเป็นรูปหอก

สรรพคุณ
โดยใช้เป็นยาระบายแก้จุกเสียดแน่นท้อง แต่ถ้ารับประทานมากไปก็อาจทำให้เกิดอาการท้องเสียอย่างรุนแรงได้ ดังนั้นท่านผู้อ่านที่จะใช้ดอกบานบุรีจึงใช้ด้วยความระมัดระวัง ซึ่งก็เหมือนยาแผนปัจจุบันที่ต้องระมัดระวัง เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง ในปัจจุบันได้มีการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของบานบุรีพบว่ามีฤทธิ์เป็นยาระบายทำให้กล้าเนื้อของลำไส้หดเกร็ง ยับยั้งการเกาะกลุ่มของเซลล์ ต้านเชื้อราและแบคทีเรีย ต้านเนื้องอก ซึ่งสอดคล้องกับตำรายาแผนโบราณ

ดอกชะบา



ดอกชบา ดอกชบามีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Hibiscus rosa-sinensis Linn. อยู่ในวงศ์ Malvaceae มีชื่อตามท้องถิ่นต่างๆดังนี้ ชบาขาว ชบาดอกแดง ชุมบา บาใหม่ ใหม่แดง ชบาจัดเป็นไม่พุ่มขนาดย่อม ใบดกรูปไข่ ปลายใบแหลม สีเขียว ขอบใบเป็นหยักเล็กๆ ดอกเป็นดอกเดี่ยวเด่นสะดุดตา ก้านเกสรตัวเมียยาว ตรงปลายมีก้านเกสรตัวผู้เกาะอยู่ กลีบดอกมีหลายสี เช่น สีแดงเข้ม ส้ม ชมพู


สรรพคุณ ในตำรายาแผนโบราณได้ระบุส่วนที่นำมาใช้เป็นยาและสรรพคุณดังนี้

"ราก" แก้ฝี แก้ฟกช้ำบวม ขับน้ำย่อย ทำให้อาหารมีรสชาติ ลดไข้ เป็นยาระบาย

"ใบ" น้ำคั้นจากใบมีรสหวาน มีฤทธิ์ฝาดสมาน ให้ความรู้สึกเย็น บรรเทาอาการระคายเคืองที่ผิวหนัง ในประเทศจีนใช้น้ำคั้นทาช่วยให้รองเท้าดำและใช้ทำมาสคาราทาขนตา

"ดอก" ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย ลดไข้ บำรุงน้ำนมมาก บำรุงเส้นผม ทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น ขับเสมหะ

"ดอกและใบ" ใช้บรรเทาอาการปวดท้องเวลามีประจำเดือน รักษากระเพาะปัสสาวะอักเสบ รักษากามโรค


ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยพบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาดังนี้ ลดไข้ แก้ปวด ลดอาการอักเสบกดระบบประสาทส่วนกลาง เสริมฤทธิ์ของยาแก้ชักและยานอนหลับบาน์บิทูเรต ลดความดันโลหิต คลายกล้ามเนื้อเรียบ ต้านเชื้อรา ต้านเชื้อไวรัส ขับประจำเดือน ยับยั้งการสร้างอสุจิ ยับยั้งการฝังตัวของตัวอ่อน <คุมกำเนิด> เป็นพิษต่อตัวอ่อนทำให้แท้ง บำรุงน้ำนมในสตรีหลังคลอดบุตร ดื่มเป็นยาชงช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย ฟอกโลหิต โดยนำมาดอก ชบามาแต่งสลัดผัก ใส่แกงเลียงหรือใช้เป็นสีผสมอาหาร ซึ่งจะให้สีแดงม่วงเติมน้ำมะนาวลงไปจะให้สีแดงสด


จะเห็นได้ว่าฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่ค้นพบสามารถอธิบายถึงสรรพคุณที่ระบุไว้ในตำรายาแผนโบราณ ถ้าท่านผู้อ่านไม่มีอาการดังกล่าวมาแล้วข้างต้นก็สามารถใช้ใบชบสเพื่อลดอายุตนเองได้ โดยนำใบชบามาขยำกับน้ำได้น้ำเมือกที่เหนียวข้นนำไปหมักผม จะช่วยทำให้ผมดกดำไม่มีผมงอก

ดอกกระดังงา



ดอกกระดังงา กระดังงามีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cananga odorata Hook.fet TH อยู่ในวงศ์ Annonacwae มีชื่อเรียกตาม ท้องถิ่นดังนี้ กระดังงาใบใหญ่ กระดังงาใหญ่<ภาคกลาง> สะบันงาต้น<ภาคเหนือ> กระดังงาจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นตรงสูง เปลือกต้นเกลี้ยงสีเทา กิ่งก้านมีขนาดเล็กแตกออกจากลำต้น ดอกใหญ่ออกรวมกัน 3-6 ดอก ดอกอ่อนจะมีสีเขียวมีกลิ่นหอม กลีบดอกยาวห้อยลงรูปกลีบแคบปลายเรียวยาว ขอบกลีบหยักเป็นคลื่นๆ ผลรูปยาวรีอยู่รวมกันมีสีเขียวเข้ม ผิวมัน เมื่อแก่จัดจะมีสีดำ


สรรพคุณ ส่วนที่นำมาใช้เป็นยาคือ ดอกที่แก่จัด โดยเฉพาะในดอกจะพบน้ำมันหอมระเหยเป็นเอสเตอร์ของ formic acetic , valerianic ,benzeoic acid methyl , benzyl alcohol จากการที่ดอกแก่จัดมีน้ำมันหอมระเหยจึงใช้ผสมในยาหอมเพื่อแก้ลม อ่อนเพลีย บำรุงโลหิต บำรุงธาตุบำรุงหัวใจ และเมื่อดอกแก่จัดนำไปสกัดจะได้น้ำมันหอมระเหย ชื่อ "น้ำมันกระดังงา" นำไปใช้แต่งกลิ่นเครื่องสำอางซึ่งก็เหมือนสมัยโบราณที่นำดอกแก่ไปลมควันเทียนอบเพื่อใช้อบน้ำทำน้ำอบไทย ใช้น้ำไปคั้นกะทิหรือทำข้าวแช่ เมื่อรับประทานแล้วจะมีกลิ่นหอม ให้ความรู้สึกสดชื่น ใช้กลีบดอกลนไฟอ่อนๆลอยน้ำเชื่อมปรุงขนมหวานต่างๆ


ดอกกระเจี๊ยบ






กระเจี๊ยบแดง "กระเจี๊ยบแดง" ถือเป็นพืชสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาทำเป็นเครื่องดื่มได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญยังมีสรรพคุณเป็นยาอีกด้วย แทรกกลีบดอกอยู่ตามกิ่งยาว ใช้ประดับแจกันก็ได้ ขณะเดียวกันก็นำกลีบเลี้ยงมาเชื่อม ทำแยม หรือ ตากแห้งใช้ต้มเป็นน้ำกระเจี๊ยบ


สรรพคุณ ส่วนที่นำมาทำเป็นยา คือ กลีบเลี้ยงที่แห้ง ซึ่งมีสารสีแดงชื่อแอนโธไชยานิน และมีกรดอินทรีย์ซึ้งทำให้มีรสเปรี้ยว และยังมีแร่ธาตุและสารอื่นๆ ได้แก่ แคลเซียมในปริมาณที่สูง ส่วนกลีบเลี้ยงนอกจากจะใช้เป็นยาสมุนไพรแล้วยังนำไปทำเป็นผลไม้กวนหรือแยม และใช้แต่งรสเปรี้ยวในเยลลี่และเหล้าองุ่น มีรายงานทางวิทยาศาสตร์พบว่ากระเจ๊ยบแดงสามารถใช้เป็นยาขับปัสสาวะได้ดีจึงรักษาและป้องกันโรคนิ่วได้ โดยเฉพาะนิ่วที่เกิดจากการดื่มน้ำกระด้างที่มีหินปูน นอกจากนี้ยังพบว่าสารสกัดจากกลีบเลี้ยงและใบประดับของกระเจี๊ยบแดงยังช่วยลอความดันโลหิตได้ และยังสามารถกระตุ้นให้มีการขับน้ำดีออกมา จึงช่วยย่อยอาหารประเภทไขมัน ซึ่งเหมาะสำหรับคนที่น้ำดีไม่ปกติ และจากการที่กระเจี๊ยบแดงมีวิตามินสูง จึงสามารถรักษาอาการเลือดออกตามไรฟันบำรุงกระดูกได้ ดื่มแก้ร้อนในกระหายน้ำ บรรเทาอาการท้องเสียและป้องกันการจับตัวของไขมันในเส้นเลือด